Skip to content
1 min read

14 เคล็ดลับในการป้องกันตัวเองและครอบครัวจากการหลอกลวงด้วยเสียงเลียนแบบจาก AI (AI Voice Cloning Scams)

14 เคล็ดลับในการป้องกันตัวเองและครอบครัวจากการหลอกลวงด้วยเสียงเลียนแบบจาก AI (AI Voice Cloning Scams)

14 เคล็ดลับในการป้องกันตัวเองและครอบครัวจากการหลอกลวงด้วยเสียงเลียนแบบจาก AI (AI Voice Cloning Scams)

Credit : DALL-E 3
Credit : DALL-E 3

ทุกวันนี้ภัยจากมิจฉาชีพอันตรายและน่ากลัวขึ้นเรื่อยๆครับ ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี AI ที่สามารถลอกเลียนเสียงใครก็ได้ในโลก ด้วยต้นทุนที่ต่ำ ทำให้รูปแบบการหลอกลวง พัฒนาปรับเปลี่ยนไปได้หลากหลายมาก ยิ่งถ้ามีการนำ Automation มาใช้ จะยิ่งทำให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง

ข่าวหลอกลวงโดยมิจฉาชีพที่ใช้เทคโนโลยี AI Voice Cloning มีมากมาย ระบาดไปทั่วสหรัฐอเมริกา และเริ่มขยายมาที่บ้านเรา เช่น

ข่าว AI เลียนแบบเสียงลูกสาวว่าถูกลักพาตัว ไปขู่ขอเงินจากแม่

'Mom, these bad men have me': She believes scammers cloned her daughter's voice in a fake kidnapping | CNN
Jennifer DeStefano’s phone rang in January with a terrifying call from her sobbing 15-year-old daughter, saying she’d been kidnapped. But as a relieved DeStefano soon learned, her daughter was safe and the call was a scam.

ความรู้เท่าทันเทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อป้องกันตัวเองจากการคุกคามและหลอกลวงเหล่านี้

ผมสรุปวิธีการป้องกันตัวเองและครอบครัว จากการหลอกลวงด้วยเสียงเลียนแบบจาก AI ไว้ทั้งหมด 14 ข้อ ดังนี้

1. ระวังการโทรที่ไม่คาดคิดเพื่อขอเงินหรือข้อมูลที่ sensitive แม้ว่าเสียงคนที่โทรมาจะฟังดูคุ้นเคยก็ตาม

ให้เอะใจ ฉุกคิดก่อนเชื่อเสมอ

2. ตรวจสอบตัวตนของผู้โทรโดยถามคำถามเฉพาะคนคนนั้นเท่านั้นที่จะรู้

เช่น ภรรยา สามี ลูก ชื่อจริง ชื่อเล่นว่าอะไร ทำงานตำแหน่งอะไร ขับรถสีอะไร เป็นต้น

3. โทรกลับคนนัั้นด้วยหมายเลขที่เรามีอยู่ เพื่อตรวจสอบว่าคนนัั้นโทรมาจริง

เพราะระบบมิจฉาชีพสามารถปลอมแปลงเป็นเบอร์ใดๆก็ได้ในการโทรหาเรา แต่เวลาโทรกลับ มักเข้าระบบ ไม่สามารถติดต่อกลับได้ โดยเฉพาะถ้าเป็นเบอร์ที่เราเมมไว้สำหรับคนนั้น

4. ตั้งค่า "Safe Word" หรือรหัสปลอดภัยประจำตัว ที่รู้กันเฉพาะ สมาชิกในครอบครัวที่ต้องใช้เพื่อยืนยันตัวตนในการโทรเพื่อขอเงิน

หรือข้อมูล ซัก 3 รหัส เช่น เรียนอนุบาลที่ไหน ชอบกินอาหารอะไร ตอนเด็กเคยไปเที่ยวไหนด้วยกัน เป็นต้น

5. จำกัดการแชร์บันทึกเสียงแบบสาธารณะบนโซเชียลมีเดียหรือกับบริษัทต่างๆ โดยไม่จำเป็น

เนื่องจากมิจฉาชีพ สามารถใช้สิ่งเหล่านี้เพื่อโคลนเสียงของเราได้ อย่างง่ายดายและรวดเร็ว

ระบบ AI Voice Cloning ก็สร้างเสียงเลียนแบบเราได้ โดยคำพูดประโยคที่ยาวเกิน 10 นาที หรือคำพูดประมาณ 20-30 คำ

6. ระมัดระวังในการเข้าร่วมการสำรวจโพลล์ต่างๆด้วยเสียงหรือการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยคนที่ไม่รู้จักคุ้นเคย

เพราะเสี่ยงมากที่จะถูกอัดเสียงไป Clone ใช้หลอกคนอื่นต่อ

7. ใช้รหัสผ่านที่คาดเดายากและเปิดใช้งานการตรวจสอบสิทธิ์แบบ "Two factors verification"

หรือเปิด OTP ในทุกบัญชี เช่น อีเมล์ หรือโซเชียลต่างๆ เพื่อป้องกันการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต

(ควรทำด่วน เพราะช่วยไม่ให้ถูกแฮคได้)

8. ให้ความรู้แก่สมาชิกในครอบครัว โดยเฉพาะญาติผู้สูงอายุที่มักเป็นเป้าหมายหลัก เกี่ยวกับการหลอกลวง9. พิจารณาใช้แอปอย่าง Whoscall ที่ตรวจสอบสายที่โทรเข้ามา ว่าอยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นมิจฉาชีพมั้ย มีทั้ง iOS และ Android

ถ้าแบบเสียเงิน จะคัดกรอง SMS ได้ด้วย แนะนำให้ใช้

อย่าคิดว่าเป็นเรื่องเสียเงิน แต่ให้คิดว่า เป็นการลงทุน เพื่อสร้างระบบความปลอดภัย ป้องกันภัยให้ตัวเราเอง

10. ใช้แอปที่ Block โฆษณา เพื่อป้องกันการเห็นแบนเนอร์จากเว็บหลอกลวง ผมแนะนำแอปชื่อ Adguard ที่ผมใช้กันทั้งบ้าน

แอปนี้ มีความสามารถดังนี้

คิดซะว่าส่งเสริมให้คนพัฒนามีเงินไปจ้างทีม เพื่อพัฒนาโปรดักต์ดีๆให้เราใช้

11. ตั้งข้อสงสัยในการโทรใดๆ ก็ตามที่มาด้วยอารมณ์ เช่น โทรมาด้วยความตื่นเต้น ตกใจ (เป็นเทคนิคที่พี่มิจชอบใช้)

หรือใช้ความเร่งด่วนในการขอเงินหรือข้อมูล เพื่อไม่ให้เรามีเวลาคิด ตรึกตรองให้ดี ตรวจสอบก่อนดำเนินการ

12. ถ้าเจอการกระทำหลอกลวงด้วย Voice Cloning ควรแจ้ง เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือตำรวจไซเบอร์เพื่อช่วยป้องกัน กระจายข่าว ให้ความรู้ เพื่อไม่ให้ผู้อื่นตกเป็นเหยื่อ

แอดไป จะเจอผู้หมวดขวัญดาว 🤣 

13. ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับเทคโนโลยี AI Voice Cloning และวิธีการหลอกลวงที่เป็นข่าว ตามแหล่งความปลอดภัยทางไซเบอร์

เช่น

https://www.thaicert.or.th/category/cybernews/

https://thaipoliceonline.com/

14. ห้ามส่งเงินหรือให้ข้อมูลส่วนบุคคลแก่ผู้โทรที่ไม่ได้รับการยืนยัน โดยเด็ดขาด