Skip to content
1 min read SCBX Unlocking AI

AI Success Story: Implementing Responsible AI Across Industries Around the Globe

AI Success Story: Implementing Responsible AI Across Industries Around the Globe

งาน SCBX Unlocking AI EP 10: Responsible AI in Action: From Regulation to Real-World Impact

เวลาพูดถึงเรื่องกฎหมายกำกับดูแลการใช้งาน AI หลายคนมักจะนึกว่าเป็นเรื่องไกลตัว เพราะกว่าจะผ่านกฎหมายแต่ละฉบับออกมาได้ต้องใช้เวลานานมาก 

อย่างไรก็ตาม ในบางพื้นที่มีการบังคับใช้งานจริงจังแล้ว และหากใครนำไปใช้ในทางที่ผิดล่ะก็ อาจต้องขึ้นศาลโดยไม่รู้ตัว

ในงาน SCBX Unlocking AI EP.10 คุณกฤติยาณี บูรณตรีเวทย์ ทนายความและพาร์ทเนอร์จาก Baker McKenzie มาชวนคุยเรื่อง “AI Success Story: Implementing Responsible AI Across Industries Around the Globe” ว่าตอนนี้การกำกับดูแลกฎหมายปัญญาประดิษฐ์ทั่วโลกมีความเข้มข้นขึ้นมาก และมีหลายกรณีที่น่าสนใจทีเดียว 

SCBX สรุปสาระสำคัญของเสวนาครั้งนี้มาให้ได้อ่านกันแล้ว ดังต่อไปนี้

  1. สการ์เล็ตต์ โจแฮนส์สัน นักแสดงสาวชื่อดัง ไม่พอใจที่ OpenAI ผู้สร้าง ChatGPT พยายามสร้าง Chatbot เลียนเสียงของเธอให้เหมือนในหนังเรื่อง her โดยไม่ได้รับอนุญาต 
  2. รัฐเทนเนสซี่ ในสหรัฐอเมริกา ออกกฎหมาย ELVIS Act เพื่อปกป้องศิลปินนักร้องจากการโดนนำเสียง ใบหน้าไปลอกเลียนแบบเพื่อผลประโยชน์อื่นๆ โดยไม่ได้รับอนุญาต
  1. ประเทศจีน มีกรณีละเมิดลิขสิทธิ์เยอะมาก เช่น มีคนสร้างสรรค์ภาพวาดหญิงสาวคนหนึ่งด้วย AI ขึ้นมาเอง แต่ภาพนั้นไปคล้ายกับผลงานของคู่กรณีโดยไม่ตั้งใจ นำไปสู่การฟ้องร้อง พิสูจน์ความเป็นเจ้าของผลงานอย่างละเอียดยิบ
  1. อีกคดีที่น่าสนใจในประเทศจีน คือการฟ้องร้องผู้ที่ใช้ AI ออกแบบซูเปอร์ฮีโร่ที่มีลักษณะคล้าย “อุลตร้าแมน” ขึ้นมาใช้ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งแน่นอนว่าเจ้าของลิขสิทธิ์ “อุลตร้าแมน” ตัวจริงไม่ปลื้ม แม้ว่าผู้ที่ออกแบบจะไม่ได้ป้อน Prompt ที่ระบุว่าซูเปอร์ฮีโร่รายนั้นคือ “อุลตร้าแมน” โดนตรงเลยก็ตาม
  1. ในไทยเองก็มีเรื่องการสร้างภาพโป๊ของบุคคลจริง ผ่าน GenAI กรณีนี้แม้จะไม่ได้มีกฎหมาย AI บังคับใช้โดยเฉพาะ แต่อย่าลืมว่ามีกฎหมายลิขสิทธิ์ และมีกฎหมายพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ห้ามผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ คอยกำกับดูแลอยู่
  1. สายการบิน Air Canada ประเทศแคนาดา ใช้ Chatbot ช่วยให้คำแนะนำลูกค้าในการซื้อตั๋ว แต่ปรากฏว่าดันแนะนำโปรโมชั่นพิเศษให้ลูกค้า ซึ่งไม่มีโปรโมชั่นนั้นอยู่จริง สายการบินอ้างว่า AI ไม่ใช่พนักงานขององค์กรจึงขอไม่รับผิด แต่ศาลตัดสินว่า Air Canada มีความผิด เพราะถือเป็นหน้าที่ของสายการบินที่ต้องกำกับดูแลให้ Chatbot ให้ข้อมูลลูกค้าตามความเป็นจริง
  1. อีกคดีเกิดขึ้นกับสำนักงานกฎหมายแห่งหนึ่งในรัฐนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา เมื่อทนายความใช้ GenAI ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับคดีความมาใช้เป็นหลักฐานในการว่าความ แต่ข้อมูลนั้นกลับเป็นคดีที่ไม่มีอยู่จริง ข้อมูลดังกล่าวพาดพิงหลายหน่วยงานจนฟ้องร้องกลับ เป็นผลให้สำนักงานนั้นถูกปรับเงินสูงถึง 5,000 ดอลลาร์ เป็นบทเรียนว่าทนายต้องตรวจเช็คข้อมูล และใช้งาน AI อย่างมีความรับผิดชอบ
  1. การละเมิดลิขสิทธิ์ผ่านการใช้ข้อมูล หรือข้อมูลส่วนบุคคล เช่น เสียง, รูปภาพ, ภาพเหมือน มาใช้ในการฝึก AI
  2. การบิดเบือนข้อมูลเพื่อการทุจริต, เพื่อวัตถุประสงค์เชิงพาณิชย์หรือทางการเมือง เป็นต้น
  3. การละเมิดความเป็นส่วนตัวและการรักษาความลับ การประมวลผลที่ไม่ได้รับอนุญาต
  4. การให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ ข้อมูลที่ผิด เช่น ให้ข้อมูลผิดพลาดด้วยความประมาทจนสร้างความเสียทางทางร่างกาย และทางทรัพย์สิน เป็นต้น
  5. การใช้งานอย่างอคติ เลือกปฏิบัติ ไม่คำนึงถึงข้อกังวลทางจริยธรรม
  6. ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมาย 
  1. ต่อให้ไม่มีกฎหมายเรื่อง AI ในไทย แต่หากติดต่อทำการค้ากับต่างประเทศ ต้องดูด้วยว่าในประเทศนั้นๆ เช่น ในยุโรป หรือในอเมริกามีข้อกฎหมายใดบังคับใช้อยู่บ้าง การรู้ตั้งแต่แรกจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง
  2. จงใช้งานอย่างโปร่งใส ใช้อย่างมีความน่าเชื่อถือ
  3. ใช้งานด้วยความเป็นธรรม ภายใต้หลักจริยธรรม จรรยาบรรณ

สำหรับสไลด์ที่ คุณกฤติยาณี บูรณตรีเวทย์ ใช้บรรยาย สามารถดาวน์โหลดได้ที่